analyticstracking
หัวข้อ   “ คนไทยพร้อมไหม?? หาก COVID-19 ไม่ห่างไกลเรา
                 ประชาชนเฉลี่ยร้อยละ 80.1 ระบุว่า รู้แล้วว่าจะต้องทำตัวอย่างไรหากตนเองติดเชื้อ COVID-19
      โดยเรื่องที่ประชาชนรับรู้มากที่สุด คือ ต้องสวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว ร้อยละ 99.3
                 ทั้งนี้เรื่องที่รับรู้น้อยกว่าเรื่องอื่นๆ คือ เมื่อติดเชื้อแล้วต้องโทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้ง
       เรื่องเข้ารับการรักษา และข้อมูลติดต่อของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง ร้อยละ 57.7
                 โดยส่วนใหญ่ประชาชนร้อยละ 76.5 ต้องการให้ภาครัฐเร่งให้ข้อมูลเรื่องอาการที่ไม่พึงประสงค์
      หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนแก่ประชาชนมากที่สุดเพื่อเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีน
       COVID-19
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “คนไทยพร้อมไหม?? หาก COVID-19 ไม่ห่างไกลเรา” โดย
เก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,225 คน ได้ผลสำรวจดังนี้
 
                  เมื่อถามว่า “รู้หรือไม่ว่าต้องทำตัวอย่างไร หากติดเชื้อ COVID-19”
ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า “รู้” โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 80.1
ขณะที่ระบุว่า “ไม่รู้”
โดยมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 19.9
 
                  ทั้งนี้เรื่องที่ประชาชนรับรู้มากที่สุด คือ ต้องสวมใส่แมสก์ตลอดเวลา
และแยกของใช้ส่วนตัว ร้อยละ 99.3
รองลงมาคือ ต้องงดออกจากที่พักหรือเดินทาง
ข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิด พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34) ร้อยละ 95.2 และต้องงด
ใกล้ชิดครอบครัวและผู้อื่น ถ้าแยกห้องน้ำได้ควรแยก ร้อยละ 94.2 ส่วนเรื่องที่ประชาชน
รับรู้น้อยที่สุดคือ การโทรสายด่วน 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการ
รักษา แจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง ร้อยละ
57.7
 
                  สำหรับเรื่องที่อยากให้ภาครัฐเร่งให้ความรู้กับประชาชนมากที่สุดเพื่อเตรียมความพร้อมในการฉีด
วัคซีน COVID-19 คือ อาการที่ไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนร้อยละ 76.5
รองลงมา
คือ ผลดีและผลเสียจากการฉีดและไม่ฉีดวัคซีน ร้อยละ 68.8 และวิธีปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ร้อยละ 65.9
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ท่านรู้หรือไม่ /ต้องทำตัวอย่างไร หากติด COVID-19                  

ประเด็น
รู้
(ร้อยละ)
ไม่รู้
(ร้อยละ)
สวมใส่แมสก์ตลอดเวลาและแยกของใช้ส่วนตัว
99.3
0.7
งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด (ฝ่าฝืนมีโทษผิดพ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558 มาตรา 34)
95.2
4.8
งดใกล้ชิดครอบครัวและผู้อื่น ถ้าแยกห้องน้ำได้ควรแยก
94.2
5.8
หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลและเช็ดตัวเพื่อลดไข้
84.4
15.6
เตรียมเสื้อผ้า ของใช้จำเป็นและยารักษาโรคประจำตัว ให้ครบ 14 วันเมื่อต้องไปอยู่ รพ.สนาม
82.4
17.6
หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่หรือเพิ่มขึ้นจากอาการเดิม ขณะรอรถมารับไป รพ. ให้โทรแจ้ง ให้ติดต่อสายด่วน 1669, 1668 เพื่อเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน
79.2
20.8
ผู้ป่วย COVID-19 ได้รับการรักษาฟรี ไม่ต้องจ่ายส่วนต่างหากจำเป็นต้องเข้ารักษาใน รพ. เอกชน
64.7
35.3
เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น บัตรประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด
63.7
36.3
โทร 1330, 1668, 1669 เพื่อแจ้งเรื่องเข้ารับการรักษา แจ้งรายละเอียดและเบอร์โทรศัพท์ของตนให้หน่วยงานที่รับเรื่อง
57.7
42.3
ค่าเฉลี่ย
80.1
19.9
 
 
             2. อยากให้ภาครัฐเร่งให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องใดเพื่อเตรียมความพร้อมในการฉีดวัคซีน COVID-19

 
ร้อยละ
อาการที่ไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังฉีด
76.5
ผลดีและผลเสียจากการฉีดและไม่ฉีดวัคซีน
68.8
วิธีปฏิบัติตัวทั้งก่อนและหลังการฉีดวัคซีน
65.9
ความชัดเจนเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาอาการไม่พึงประสงค์ หรือผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
59.7
ให้มีระบบจัดการ/ป้องกันข่าวปลอมหรือ เฟคนิวส์เรื่องวัคซีน
55.8
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวหากติดเชื้อ COVID-19
และเรื่องที่ภาครัฐควรเร่งให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเพื่อเตรียมพร้อมก่อนฉีดวัคซีน ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็น
ของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random
Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 11-13 พฤษภาคม 2564
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 พฤษภาคม 2564
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
566
46.2
             หญิง
659
53.8
รวม
1,225
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
91
7.4
             31 – 40 ปี
168
13.7
             41 – 50 ปี
318
26.0
             51 – 60 ปี
350
28.6
             61 ปีขึ้นไป
298
24.3
รวม
1,225
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
758
61.9
             ปริญญาตรี
374
30.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
93
7.6
รวม
1,225
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
151
12.3
             ลูกจ้างเอกชน
263
21.5
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
441
36.0
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
48
3.9
             ทำงานให้ครอบครัว
3
0.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
266
21.7
             นักเรียน/ นักศึกษา
15
1.2
             ว่างงาน
38
3.1
รวม
1,225
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898